โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 57 – ปรับปรุงนิสัยการกิน (2)

จุดประสงค์ของข้อความนี้ คือการเน้น (Emphasize) ให้เห็นว่าแนวโน้มทางอาหาร (Diet) เปลี่ยนแปลงไปมา สิ่งที่ได้รับความนิยม (Popular) และโฆษณา (Advertising) ว่า "ดีต่อสุขภาพ" ในปัจจุบัน อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในระยะหลายปีข้างหน้า ดังนั้น ขอแนะนำให้ระมัดระวัง (Caution) เมื่อมีการตัดสินใจเลือกอาหารที่เฉพาะเจาะจง (Specific diet) ไว้

ไม่เพียงวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมขึ้นๆ ลงๆ (Ebbs and flows) เกี่ยวกับอาหารเท่านั้น คำแนะนำจากหน่วยงานทางอาหาร (Official dietary recommendations) ก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในต้นศตวรรษที่ 20 คำแนะนำ (Guidance) ของรัฐบาลเน้นการจัดเก็บอาหารอย่างปลอดภัย (Safe storage) เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร (Food-borne illness)

ในคริสตทศวรรษ 1930s สิ่งที่ปรากฏ (Appear) ตามสิ่งตีพิมพ์ (Publication) ต่างๆ วนเวียน (Center) อยู่ที่บทบาทของวิตามินและแร่ธาตุ (Mineral) ที่สำคัญ (Essential) ในด้านสุขภาพ ในคริสตทศวรรษ 1940s  คำแนะนำทางอาหารสนับสนุนการอนุรักษ์ (Conservation) ทรัพยากรในช่วงสงคราม (War-time) และส่งเสริม (Promote) การบรรจุอาหารกระป๋อง (Food canning) โดยเฉพาะถ้ามีการปันส่วน (Rationing) ทรัพยากร

อาหารพื้นฐาน 7 กลุ่มที่ได้รับการเผยแพร่ [ในเวลานั้น] ได้แก่

  1. ผักเขียวและเหลือง
  2. ส้ม, มะเขือเทศ, และ Grapefruit
  3. มันเทศ ผักและผลไม้ ชนิดอื่นๆ
  4. นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  5. เนื้อ, ไก่ (Poultry), ปลา, หรือ ไข่
  6. ขนมปัง, แป้ง, และธัญพืช (Cereal)
  7. เนยและเนยเทียมที่เสริมแร่ธาตุ (Fortified)

ในคริสตทศวรรษ 1950s กลุ่มเหล่านี้ถูกผนวก (Merged) เข้าด้วยกันเป็น 4 กลุ่มอาหารหลัก (อันได้แก่ นม, เนื้อ, ผัก/ผลไม้, และขนมปัง/ธัญพืช) โดยมีการเพิ่มข้อแนะนำในการบริโภค (Serving)

หลังจากสงคราม เมื่อรายงานการเพิ่มขึ้นของอาการเรื้อรัง (Chronic condition) ที่เชื่อมโยงกับอาหารของชาวอเมริกันปรากฎขึ้น คณะกรรมาธิการพิเศษสภาสูง (Senate Select Committee) ด้านโภชนาการ และความจำเป็นของมนุษย์ (Nutrition and Human Needs ได้จัดการประชุมรับฟัง (Hearing) ปัญหานี้

และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Emerge) คือเอกสารปี ค.ศ. 1977 ที่ชื่อว่า “จุดมุ่งหมายของอาหารสำรับสหรัฐอเมริกา” (Dietary Goals for the United States) หลักเอกสารนี้เชื่อมโยงระหว่างไขมันเกิน (Excess), น้ำตาล, และเกลือกับโรคหัวใจ อันนำไปสู่ข้อแนะนำต่อไปนี้

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.